U.S.-Japan Cooperative Medical Sciences Program 22nd International Conference on Emerging Infectious Diseases in the Pacific Rim



อ.ดร.พญ.วรรษมน จันทรเบญจกุล
รพ.จุฬาลงกรณ์


ศ.พญ.อุษา ทิสยากร
คลัสเตอร์วิจัยอายุรศาสตร์เขตร้อน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



การประชุม
International Conference on Emerging Infectious Diseases in the Pacific Rim ครั้งที่ 22 จัดขึ้นที่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยระหว่างวันที่ 24-27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 โดยความร่วมมือระหว่างหลายองค์กรดังต่อไปนี้: US-Japan Cooperative Medical Science Program (USJCMSP) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์การแพทย์ระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกาโดย National Institute of Allergy and Infectious Diseases และประเทศญี่ปุ่นโดย National Institute of Infectious Diseases ซึ่งดำเนินมาเป็นระยะเวลามากกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว และมีเจ้าภาพร่วมจากประเทศไทยดังต่อไปนี้ :คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คลัสเตอร์วิจัยอายุรศาสตร์เขตร้อน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จุดประสงค์ของการประชุมดังกล่าวเพื่อเป็นการสร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ในด้านโรคอุบัติใหม่ ซึ่งในปีนี้เน้นที่เกี่ยวกับไวรัส มีแพทย์ บุคลากรทางการแพทย์และนักวิจัยกว่า 300 คนจากหลายประเทศทั่วโลกเข้าร่วมการบรรยายและแสดงผลงานวิจัยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสดังกล่าว


การประชุมเริ่มต้นด้วยพิธีเปิดโดย ศ
.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ คณบดี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข Mr. Henry Rector, Acting Deputy Chief of Mission Embassy of the U.S.A. in Thailand และ Professor Ichiro Kurane, Former Director-general, National Institute of Infectious Diseases, Japan/Japanese Delegation Chair, USJCMSP จากนั้นมีการบรรยาย Shimao-Takeda Lectureship เรื่อง Dengue: A Global Threat โดย ศ.พญ.อุษา ทิสยากร จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, La Montagne-Heilman Lectureship เรื่อง Monoclonal antibodies to virus infection โดย Professor Erica Ollman Saphire จาก La Jolla Institute for Immunology, USA และ MERS-CoV and COVID-19: Thai Experience โดย นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข


จากนั้นการประชุมได้แบ่งออกเป็น
session ต่างๆ ดังต่อไปนี้:

1. New approaches to vaccine development and clinical trials ซึ่งเป็นการบรรยายเกี่ยวกับ Influenza virus vaccine, Dengue vaccine, HIV vaccine, Broadly protective antibodies and vaccines, Vector saliva-targeted vaccine และ Coronaviruses evade host sensors by trimming their RNA โดย ศ.นพ. ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร หัวหน้าภาควิชา อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และประธานคลัสเตอร์วิจัยอายุรศาสตร์เขตร้อน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บรรยายเรื่อง Dengue vaccine trial: Balancing the risks and benefits

2. New diagnostics and therapeutic trials ซึ่งเป็นการบรรยายเกี่ยวกับการวินิจฉัยและการรักษาโรคติดเชื้อ HIV, HBV, Norovirus, Rapid and sensitive molecular diagnostics through CRISPR enzymes โดย ศ.นพ. เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและ ประธานกรรมการ บริหารคลัสเตอร์วิจัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้บรรยายเรื่อง Antivirals against HIV infection: Present and Future

3. Transmission and pathogenesis of viral infection (including vector and neurological complications) ซึ่งเป็นการบรรยายเกี่ยวกับ SIV/HIV, Zika, Rabies, hepatitis C virus vaccine trials โดย ศ.ดร.นพ.เผด็จ สิริยะเสถียร หัวหน้าภาควิชา ปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้บรรยายเรื่อง Field and laboratory studies of Zika virus in mosquitoes in Thailand จุฬาลงกรณ์ และ ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ภาควิชา อายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยได้บรรยายเรื่อง Human rabies: From neuropathogenesis to prophylaxis and treatment

4. Biology, natural history and prevention of oncogenic infections and their associated cancers ซึ่งเป็นการบรรยายเกี่ยวกับเชื้อ human papillomavirus และ Epstein-Barr virus

5. Microbiome, virome and viral pathogenesis ซึ่งเป็นการบรรยายเกี่ยวกับ vaginal microbiome and bacterial vaginosis, host microbiome on chikungunya virus infection ในวันที่ 26-27 กุมภาพันธ์ 2563 ได้มีการแบ่งการประชุมออกเป็น 5 Panel meetings ได้แก่ acute viral respiratory infection, AIDS, cancer, immunology board meeting และ viral diseases panel meeting

6. Special COVID-19 session ซึ่งนพ.วีรวัฒน์ มโนสุทธิ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านเวชกรรม สาขาอายุรกรรม กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข บรรยายเรื่อง Clinical experience of NCoV cases in Thailand ซึ่งได้นำเสนอรายงานผู้ป่วยหญิงชาวจีนอายุ 61 ปีที่ติดเชื้อ COVID-19 รายแรกที่วินิจฉัยในประเทศไทย ตลอดจนผู้ป่วยชายไทยอายุ 70 ปีที่ตรวจพบทั้งการติดเชื้อCOVID-19 และวัณโรค โดยได้สรุปจากประสบการณ์ว่าผู้ป่วยทั้งหมดในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีอาการน้อย มีไข้ต่ำๆ และการตรวจ CBC พบว่ามีเม็ดเลือดขาวต่ำ และเกร็ดเลือดต่ำได้ และ ดร.สุภาภรณ์ วัชรพฤกษาดี นักเทคนิคการแพทย์จากศูนย์โรคอุบัติใหม่ด้านคลินิก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทยบรรยายเรื่อง When the virus came to Thailand: Initial detection of COVID-19 in Chinese travelers จากการตรวจพบเชื้อ COVID-19 ในผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทย โดยใช้วิธี PCR พบเชื้อ coronavirus ที่แตกต่างจากที่เคยพบในอดีต และได้ทำ sequencing ต่อ พบว่า 83-90% ใกล้เคียงกับ coronavirus ที่พบในค้างคาว โดยเมื่อประเทศจีนได้ประกาศลำดับเบสของ coronavirus ที่พบในเมืองอู่ฮั่น จึงพบว่าเป็นเชื้อเดียวกัน การบรรยายเรื่อง Hendra to Wuhan: emerging bat-borne viruses in a quarter of century โดย Professor Linfa Wang ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเชื้อไวรัสที่พบในค้างคาว (Hendra, Nipah, SARS, MERS, EBOLA และ COVID-19)จาก Dukes-NUS, Singapore โดยได้บรรยายคาดการณ์ว่าการติดเชื้อจากสัตว์สู่คนของ COVID-19นั้น เกิดตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2562 โดยตลาดสดในเมืองอู่ฮั่น เป็นสถานที่สำคัญที่ทำให้เกิดการแพร่กระจายเชื้อ แต่ไม่ได้เป็นต้นกำเนิดของเชื้อนี้ เพราะในผู้ป่วยกลุ่มแรกที่ได้รับการวินิจฉัย ส่วนหนึ่งไม่มีประวัติเกี่ยวข้องกับตลาดสดแห่งนั้น การบรรยายเรื่อง Response to Emerging Infectious Disease โดย ดร.Denise Hsu จาก Armed Forces Research Institute of Medical Sciences ได้บรรยายเกี่ยวกับการคัดกรอง COVID-19 ในผู้โดยสารที่ลงจากเรือสำราญที่ประเทศกัมพูชา รวมทั้ง Flash talk session ซึ่งเป็นการนำเสนอผลงานวิจัยที่ได้รับรางวัล 6 เรื่อง


ผู้ที่สนใจโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องการขยายความร่วมมือและเครือข่ายของงานวิจัย สามารถติดตามรายละเอียดได้ที่
https://www.amed.go.jp/en/program/list/03/01/007.html