Polio Outbreak in the Philippines 2019


Polio Outbreak in the Philippines 2019

อ.พญ.พักต์เพ็ญ สิริคุตต์
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี


โรคโปลิโอเป็นหนึ่งในโรคที่สำคัญในระบบสาธารณสุข สามารถก่อให้เกิดภาวะทุพพลภาพถาวรและทำให้เกิดการระบาดของโรคในวงกว้าง
แม้ว่าปัจจุบันแหล่งระบาดหลักของโรคโปลิโออยู่ในแถบเอเชียใต้ อย่างไรก็ตามในช่วง 5 ปีที่ผ่านกลับมีการรายงานของโรคโปลิโอในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะล่าสุดที่มีการระบาดใหม่ของโรคโปลิโอที่สาธารณรัฐฟิลิปปินส์


คำจำกัดความของการติดเชื้อไวรัสโปลิโอ
1 มีดังต่อไปนี้

1. ไวรัสโปลิโอสายพันธุ์ธรรมชาติ (wild poliovirus – WPV) คือ ไวรัสโปลิโอสายพันธุ์ธรรมชาติที่ยังไม่มีการกลายพันธุ์

2. Vaccine – associated paralytic polio (VAPP) คือ ภาวะอ่อนแรง (paralysis) ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโปลิโอใน oral poliovirus vaccine (OPV) เป็นภาวะที่พบน้อยมาก มีโอกาสเกิดเพียง 1 ราย ต่อ 900,000 รายที่ได้รับวัคซีน OPV ครั้งแรกและ ลดลงถึง 25 เท่าในการได้รับวัคซีน OPV ครั้งต่อไป แต่จะไม่เกิดขึ้นในคนที่ได้รับวัคซีนชนิด inactivated polio vaccine (IPV)

3. Vaccine – derived polioviruses (VDPVs) คือ เชื้อไวรัสโปลิโอในวัคซีน OPV ที่มีการกลายพันธุ์ มีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่

1) Circulating VDPVs (cVDPVs) คือ เชื้อในวัคซีน OPV ที่มีการกลายพันธุ์จนสามารถแพร่กระจายจากคนสู่คนได้เหมือนสายพันธุ์ธรรมชาติ ซึ่งความแตกต่างระหว่างเชื้อไวรัสโปลิโอ cVDPVs และเชื้อที่ทำให้เกิด VAPP คือ เชื้อ cVDPVs มีการกลายพันธุ์จากเชื้อไวรัสโปลิโอในวัคซีน และสามารถระบาดสู่ชุมชนได้ในคนที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโปลิโอ แต่เชื้อที่ก่อให้เกิด VAPP เกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอในวัคซีนที่ยังไม่มีการกลายพันธุ์ และ VAPP จะพบเฉพาะผู้ที่ได้รับวัคซีน OPV และผู้ใกล้ชิด แต่ไม่มีการระบาดสู่ชุมชน

2) Immunodeficiency – associated VDPVs (iVDPVs) คือเชื้อ VDPVs ที่พบในผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง

3) Ambiguous VDPVs (aVDPVs) คือเชื้อ VDPVs ที่พบในคน แต่ไม่ทราบแหล่งที่มาและไม่ทราบว่าผู้ที่ติดเชื้อมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือไม่


ระบาดวิทยาของโรคโปลิโอ

การระบาดของโรคโปลิโอ สามารถแบ่งได้เป็น 2 แบบ ประกอบด้วย การระบาดของไวรัสโปลิโอสายพันธุ์ธรรมชาติ และการระบาดของไวรัสโปลิโอสายพันธุ์วัคซีน cVDPVs ในปี พ.ศ. 2561 ทั่วโลกพบผู้ป่วยโรคโปลิโอจากสายพันธุ์ WPV 29 ราย และจาก cVDPVs 101 ราย และในปีล่าสุด พ.ศ. 2562 พบผู้ป่วยโรคโปลิโอจาก WPV 107 ราย และจาก cVDPVs 157 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.. 2562)2


เมื่อจำแนกตามชนิดของสายพันธุ์ไวรัสโปลิโอพบว่า ชนิดของเชื้อไวรัสโปลิโอสายพันธุ์
WPV ที่พบมากที่สุดคือ ชนิด WPV1 ส่วนชนิด WPV2 และชนิด WPV3 ไม่ได้มีการรายงานมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 และปี พ.ศ. 2555 แล้วตามลำดับ3 (รูปที่ 1) ในทางกลับกันชนิดของเชื้อ cVDPVs ที่พบมากที่สุดคือ ชนิด cVDPV2 ซึ่งก็คือเชื้อที่กลายพันธุ์จากวัคซีน OPV ชนิด 2 (รูปที่ 2)4,5


จะเห็นได้ว่าปัญหาของโรคโปลิโอจากเชื้อสายพันธุ์
2 เกิดจากเชื้อที่กลายพันธุ์จากวัคซีน OPV เท่านั้น ไม่ได้เกิดจากเชื้อสายพันธุ์ธรรมชาติแต่อย่างไร ดังนั้นเพื่อกำจัดปัญหานี้ ในปี พ.ศ. 2556 ทางองค์การอนามัยโลกจึงมีประกาศให้ทุกประเทศที่ใช้วัคซีน OPV ถอดถอนการใช้ OPV ชนิด 2 หรือให้เปลี่ยนวัคซีน OPV จากชนิด trivalent OPV (OPV1, OPV2, OPV3) เป็นชนิด bivalent OPV (OPV1 และ OPV3) ร่วมกับประกาศให้มีการใช้ trivalent IPV อย่างน้อย 1 เข็มที่อายุ 14 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อป้องกันการติดเชื้อโปลิโอ ชนิด 2 ทั้งจากสายพันธุ์ WPV2 และ cVDPV2 ในช่วงรอยต่อการเปลี่ยนถ่ายจาก trivalent OPV เป็น bivalent OPV6


รูปที่
1 จำนวนผู้ป่วยโรคโปลิโอจากการติดเชื้อไวรัสโปลิโอสายพันธุ์ธรรมชาติ (WPV) จำแนกตามชนิดของเชื้อ WPV ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - 2562 (ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.. 2562)3
1.png


รูปที่ 2 จำนวนผู้ป่วยโรคโปลิโอจากการติดเชื้อไวรัสโปลิโอสายพันธุ์วัคซีน (cVDPVs) จำแนกตามชนิดของเชื้อ cVDPVs ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 - 2562 (ข้อมูล ณ วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.. 2562)4,5
2.png



แหล่งระบาดของโปลิโอสายพันธุ์
WPV ที่สำคัญ คือ ทวีปเอเชียใต้ ได้แก่ สาธารณรัฐอิสลามปากีสถานและสาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน2,3 ส่วนการระบาดของโรคโปลิโอในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมามีสาเหตุจากไวรัสโปลิโอสายพันธุ์ cVDPVs ทั้งหมด (รูปที่ 3)4,5


รูปที่ 3 พื้นที่ที่พบผู้ป่วยโรคโปลิโอจากไวรัสโปลิโอสายพันธุ์ธรรมชาติ (สีน้ำเงิน) และ ไวรัสโปลิโอสายพันธุ์วัคซีน circulating vaccine – derived polioviruses (สีส้ม) ปี พ.ศ. 2561 - 2562 (ดัดแปลงจากเอกสารอ้างอิง 2)
3.png



การระบาดของเชื้อโปลิโอ
ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ตารางที่ 1)

มี 2 ช่วงสำคัญ ได้แก่ ในปี พ.ศ. 2558 - 2559 ที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบผู้ป่วยโรคโปลิโอที่เกิดจากเชื้อ cVDPV1 ทั้งหมด 11 ราย และที่สำคัญในปีล่าสุด พ.ศ. 2562 พบผู้ป่วยโรคโปลิโอเพิ่มสูงขึ้นถึง 14 ราย โดยมาจาก สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา 6 ราย เกิดจาก cVDPV1 และ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ 8 ราย โดยที่ผู้ป่วย 3 รายเกิดจาก cVDPV2 ผู้ป่วย 1 รายเกิดจาก iVDPV2 และ ผู้ป่วยอีก 4 รายเกิดเชื้อไวรัสโปลิโอที่ยังอยู่ในขั้นตอนทางห้องปฏิบัติการเพื่อระบุสายพันธุ์ (ข้อมูล ณ วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562) 4,7-9


ตารางที่
1 จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อ VDPVs ในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำแนกตามประเทศและชนิดของเชื้อ VDPVs ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - 25624,7-9

ประเทศ

ปี พ.ศ. 2562

ปี พ.ศ. 2561

ปี พ.ศ. 2558-2559

ชนิดของเชื้อ VDPVs

อินโดนีเซีย

-

1

-

cVDPV1

พม่า

6

-

-

cVDPV1

ฟิลิปปินส์

8

-

-

cVDPV2 3 ราย

iVDPV2 1 ราย

ยังไม่ระบุสายพันธุ์ 4 ราย

ลาว

-

-

11

cVDPV1



การระบาดของเชื้อไวรัสโปลิโอ
ที่สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ตารางที่ 2)

เหตุการณ์การระบาดของเชื้อโปลิโอที่สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีรายงานครั้งแรกเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.. 2562 เป็นผู้ป่วยเด็กอายุ 3 ปี จากจังหวัดตีโมกลาเนา ทางใต้ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ เริ่มมีอาการอ่อนแรงในวันที่ 26 มิถุนายน พ.. 2562 ผลการส่งตรวจอุจจาระของผู้ป่วยพบเชื้อ cVDPV2 ซึ่งถือเป็นการระบาดใหม่ เนื่องจากเชื้อดังกล่าวไม่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่เชื่อมโยงกับเชื้อไวรัสโปลิโอจากฐานข้อมูลของ the National Institute of Infectious Diseases (NIID) ของประเทศญี่ปุ่น และ Centers for disease control and prevention (CDC) ของสหรัฐอเมริกา10

หลังจากนั้นก็ได้มีการรายงานผู้ป่วย acute flaccid paralysis (AFP) จากเชื้อไวรัสโปลิโออย่างต่อเนื่อง โดยเหตุการณ์ระบาดครั้งนี้พบผู้ป่วยทั้งหมด 8 ราย โดยผู้ป่วย 3 รายเกิดจากการติดเชื้อ cVDPV2 ผู้ป่วย 1 รายเกิดจากเชื้อ iVDPV2 และผู้ป่วยอีก 4 ราย กำลังอยู่ในขั้นตอนการระบุสายพันธุ์ ที่สำคัญจากจำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 8 ราย อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่เกาะมินดาเนาถึง 7 ราย ดังนั้นเกาะมินดาเนาจึงเป็นแหล่งสำคัญในเหตุการณ์การระบาดครั้งนี้ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562)8,9

นอกจากนี้จากผลตรวจทางห้องปฏิบัติการยังพบว่า เชื้อจากผู้ป่วยที่ติดเชื้อ cVDPV2 ทั้ง 3 รายมีลักษณะทางพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกัน และเชื้อที่พบในผู้ป่วยรายที่ 1 มีลักษณะทางพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกับเชื้อ cVDPV2 ที่พบจากสิ่งแวดล้อมในจังหวัดมะนิลา และนครดาเบา แสดงให้เห็นว่าเชื้อที่พบในเกาะมินดาเนามีการติดต่อกันระหว่างคนสู่คน และแพร่กระจายสู่ชุมชน จึงถือว่าเชื้อ VDPV2 ดังกล่าวเป็นแบบ circulating8

ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 เกิดจากเชื้อ iVDPV2 เนื่องจากผู้ป่วยรายนี้มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ร่วมกับเชื้อที่พบไม่มีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยรายอื่นๆ9

นอกจากการระบาดของเชื้อ cVDPV2 ยังพบการแพร่กระจายของเชื้อ cVDPV1 ในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์อีกด้วย แต่เชื้อ cVDPV1 ขณะนี้พบเฉพาะในสิ่งแวดล้อมเท่านั้น ยังไม่พบการแพร่กระจายของชนิดนี้สู่คน7

จะเห็นได้ว่าเหตุการณ์การระบาดครั้งนี้ในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ยังคงมีการรายงานผู้ป่วยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงต้องมีการติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิดต่อไป



ตารางที่
2 ข้อมูลผู้ป่วย AFP จากเชื้อไวรัสโปลิโอในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ.. 2562)

ลำดับ

อายุ

จังหวัด

สายพันธุ์

วันที่ยืนยันการวินิจฉัยโรค

เอกสารอ้างอิง

1

3 ปี

ตีโมกลาเนา เกาะมินดาเนา

cVDPV2

14 ก.ย. 2562

10

2

5 ปี

ลากูนา เกาะลูซอน

iVDPV2

19 ก.ย. 2562

11

3

4 ปี

มากินดาเนา เกาะมินดาเนา

cVDPV2

25 ต.ค. 2562

12

4

3 ปี

ซุลตันคูดารัต เกาะมินดาเนา

cVDPV2

4 พ.ย. 2562

7

5

2 ปี

มากินดาเนา เกาะมินดาเนา

ยังไม่ระบุ

20 .. 2562

8

6

1 ปี

โคตาบาโต เกาะมินดาเนา

ยังไม่ระบุ

20 .. 2562

8

7

4 ปี

โคตาบาโต เกาะมินดาเนา

ยังไม่ระบุ

20 .. 2562

8

8

9 ปี

บาซีลัน เกาะมินดาเนา

ยังไม่ระบุ

25 .. 2562

9



เป็นที่น่าสังเกตว่า
ถึงแม้ว่าองค์การอนามัยโลกได้ประกาศให้มีการระงับใช้ OPV ชนิด 2 ออกจากทุกประเทศที่มีการใช้ OPV เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ OPV ชนิด 2 ที่กลายพันธุ์ รวมถึงให้มีการใช้ IPV เพื่อป้องกันการติดเชื้อไวรัสโปลิโอชนิด 2 ทั้งจาก WPV2 และ cVDPV2 ในช่วงที่มีการเปลี่ยนผ่านร่วมด้วยแล้วก็ตาม กลับยังพบการระบาดของเชื้อ cVDPV ชนิด 2 เกิดขึ้นในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ทั้งที่ก่อนหน้านี้สาธารณรัฐฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่ได้รับการรับรองว่าปราศจากโรคโปลิโอมาตั้งแต่ ปี พ.. 2543 นอกจากนี้ในประเทศอื่นๆ ของทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็มีรายงานผู้ป่วยที่ติดเฉพาะเชื้อ cVDPV ชนิด 1 มาตลอด ที่สำคัญยังพบว่าหลังคำประกาศจากองค์การอนามัยโลกใน ปี พ.ศ.2559 ทั่วโลกกลับมีแนวโน้มจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโปลิโอ cVDPV ชนิด 2 สูงขึ้นอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงก่อนที่จะมีการระงับการใช้ OPV ชนิด 2 (รูปที่ 3)


ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการระบาดของเชื้อโปลิโอ
cVDPV ชนิด 2 ในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ปัจจุบัน Regional Certification Commission for the polio endgame (RCC) กำหนดให้สาธารณรัฐฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงต่อการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโปลิโอ เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้7

1) มีการครอบคลุมของวัคซีนโปลิโอที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

2) การเฝ้าระวังผู้ป่วยกล้ามเนื้ออ่อนแรงเฉียบพลัน (AFP surveillance) อยู่ในระดับต่ำ

3) ระบบสุขาภิบาลที่ไม่ดี

ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่เป็นสาเหตุของการระบาดของเชื้อโปลิโอ cVDPV2 ในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ คือ ความครอบคลุมของวัคซีน OPV และ IPV ที่ไม่ดีเพียงพอ ดังจะเห็นได้จากข้อมูลในปี พ.. 2561 ที่พบว่า อัตราการได้รับวัคซีน OPV และ IPV ของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ สามารถครอบคลุมได้เพียงร้อยละ 66 และ 41 ตามลำดับเท่านั้น13,14 ร่วมกับพบการปนเปื้อนของไวรัสโปลิโอ cVDPV ชนิด 2 ในสิ่งแวดล้อม10 ข้อมูลดังกล่าวตรงกับในหลายประเทศที่มีการรายงานของผู้ป่วยโรคโปลิโอจาก cVDPV2 ในปีล่าสุด ที่มีอัตราการได้รับวัคซีน IPV อยู่ในระดับต่ำ ร่วมกับมีการปนเปื้อนของ cVDPV2 ในสิ่งแวดล้อมเช่นเดียว

กัน4,10,13,14 (ตารางที่ 3)


ตารางที่
3 จำนวนผู้ป่วย AFP จากเชื้อ cVDPV2 แหล่งของเชื้อ cVDPV2 และอัตราความครอบคลุมของวัคซีน OPV และ IPV จำแนกตามประเทศ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 พฤศจิกายน พ..2562)4,9,10,13,14

ผู้ป่วย AFP ใน ปี พ.ศ. 2562 (ราย)

แหล่งของ cVDPV2

ในปี พ.ศ. 2562

อัตราการครอบคลุมของวัคซีน (ร้อยละ)

ในปี พ.ศ. 2561

คน

สิ่งแวดล้อม

OPV

IPV

Philippines

8

-

9

66

41

Central African

14

36

9

47

47

Ghana

5

-

9

98

55

Angola

36

19

1

56

40

Nigeria

16

19

57

57

57

DRCongo

35

17

-

79

79

AFP: Acute flaccid paralysis

ดังนั้น หลังจากที่มีการยืนยันการระบาดของไวรัสโปลิโอ VDPVs ในประเทศจากการพบผู้ป่วย AFP จาก VDPV2 รายที่ 2 กระทรวงสาธารณสุขของสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ จึงได้วางมาตรการที่สำคัญเพื่อป้องกันการลุกลามของโรค ดังต่อไปนี้15,16

1) กำกับการเฝ้าระวัง AFP surveillance เมื่อพบผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงในทุกๆ พื้นที่

2) ออกนโยบายการให้วัคซีน monovalent type 2 oral polio vaccine (mOPV2) แบบ mass immunization campaign ในพื้นที่ระบาด โดยเฉพาะในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี

3) คุมเข้มการให้วัคซีน bivalent OPV และ IPV ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 5 ปี ในพื้นที่ที่มีการระบาด และตามเกณฑ์ในเด็กอายุ 1 ½ เดือน 2 ½ เดือน และ 3 ½ เดือน ในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ


สำหรับประเทศไทย จากข้อมูลระบบรายงานการเฝ้าระวังโรค
506 ไม่ได้มีการรายงานผู้ป่วยโรคโปลิโอมานานกว่า 15 ปี คือตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 ถึงปัจจุบัน17 ส่วนหนึ่งมีสาเหตุจากการที่ประเทศไทยมีอัตราความครอบคลุมของวัคซีน OPV ทั่วประเทศมากกว่าร้อยละ 95 มานานกว่า 20 ปี13 และถึงแม้องค์การอนามัยโลกได้มีการประกาศใช้ IPV มาเพียง 4 ปี สำหรับประเทศที่ใช้ OPV แต่ประเทศไทยกลับสามารถรณรงค์จนกระทั่งมีอัตราความครอบคลุมของวัคซีน IPV สูงถึงร้อยละ 95 เช่นเดียวกับวัคซีน OPV14 อย่างไรก็ตามประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสโปลิโอชนิด 2 เนื่องจากกระทรวงสาธารสุขแนะนำให้เริ่มฉีด trivalent IPV 1 เข็มที่อายุ 4 เดือน18 ดังนั้นในเด็กที่อายุต่ำกว่า 4 เดือนจึงเป็นกลุ่มอายุที่ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสโปลิโอชนิด 2 และมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อดังกล่าวทั้งชนิด WPV2 และ cVDPV2 ดังนั้นกลุ่มอายุนี้ จึงไม่ควรเข้าไปในสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของเชื้อโปลิโอ โดยเฉพาะการเข้าสู่พื้นที่เสี่ยงหรือแหล่งระบาดของโรคโปลิโอ


การปฏิบัติตัวเมื่อเข้าสู่สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
19

ทาง CDC ของสหรัฐอเมริกา ได้มีคำแนะนำเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวสำหรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางเข้าสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ดังต่อไปนี้

1. นักท่องเที่ยวทุกคน โดยเฉพาะผู้ที่มีความประสงค์จะอยู่อาศัยในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ นานเกิน 1 เดือน ควรพิจารณาฉีดวัคซีนโปลิโอชนิด IPV ให้ครบก่อนเดินทางอย่างน้อย 4 สัปดาห์ ถึง 12 เดือน

2. กรณีมีเหตุจำเป็นต้องเดินทางทันที แนะนำให้ได้รับวัคซีน IPV อย่างน้อย 1 เข็ม ก่อนออกเดินทาง

3. กรณีผู้ที่เคยได้รับวัคซีนโปลิโอครบมาก่อนแล้ว แนะนำให้กระตุ้นวัคซีน IPV เพิ่มอีก 1 เข็ม

4. หากมีความจำเป็นต้องพักอาศัยอยู่ในสาธารณรัฐฟิลิปปินส์นานเกิน 4 สัปดาห์ แนะนำให้ฉีดวัคซีน IPV เพิ่มอีก 1 เข็ม โดยห่างจากเข็มล่าสุดอย่างน้อย 12 เดือน ก่อนเดินทางออกจากสาธารณรัฐฟิลิปปินส์


โดยสรุป
ปัจจุบันแม้ว่าประเทศไทยไม่มีผู้ป่วยโรคโปลิโอเป็นเวลานาน แต่เชื้อโปลิโอโดยเฉพาะสายพันธุ์ cVDPVs ที่สำคัญคือ เชื้อ cVDPV ชนิด 2 ที่ยังคงปนเปื้อนอยู่ในสิ่งแวดล้อมของประเทศเพื่อนบ้านของไทย ดังนั้นจึงควรมีความระมัดระวังไม่ให้สัมผัสเชื้อโปลิโอ โดยการรักษาสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 4 เดือนที่ยังไม่ได้รับ IPV หรือยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ cVDPV ชนิด
2

เอกสารอ้างอิง

1. Burns CC, Diop OM, Sutter RW, Kew OM. Vaccine-derived polioviruses. J Infect Dis. 2014;210  Suppl 1:S283-93.

2. Global polio eradication initiative. Polio Now. [cited 2019  November 13].  Available from: http://polioeradication.org/polio-today/polio-now/

3. Global polio eradication initiative. Wild poliovirus list. [cited 2019  November 13].  Available from: http://polioeradication.org/polio-today/polio-now/wild-poliovirus-list/

4. Global polio eradication initiative. Circulating vaccine-derived poliovirus. [cited 2019  November 13].  Available from: http://polioeradication.org/polio-today/polio-now/this-week/circulating-vaccine-derived-poliovirus/ 

5. Global polio eradication initiative. Circulating vaccine-derived 

 poliovirus, [cited 2016  June 13].  Available from: http://www.polioeradication.org/ Dataandmonitoring/Poliothisweek/Circulatingvaccinederivedp oliovirus.aspx 

6. World Health Organization. Polio vaccines: WHO position paper – March, 2016. Wkly Epidemiol Rec. 2016 Mar 25;91(12):145-68.

7. UNICEF-WHO. Philippines Situation Report 9 Polio Outbreak. [cited 2019 November 24]. Available from: https://reliefweb.int/sites/reliefweb.int/files/resources/UNICEF%20WHO%20PHL%20SitRep%207_Polio%20Outbreak_9Nov2019.pdf 

8. Department of Health Republic of the Philippines. DOH confirms three more cases of polio. [cited 2019  November 25].   Available from:  https://www.doh.gov.ph/doh-press-release/DOH%20CONFIRMS%20THREE%20MORE%20CASES%20OF%20POLIO

9. Department of Health Republic of the Philippines. DOH confirms 8th polio case in the country. [cited 2019  November 25].   Available from:  https://www.doh.gov.ph/doh-press-release/doh-confirms-8th-polio-case-in-the-country

10. UNICEF-WHO. Philippines Situation Report 1 Polio Outbreak. [cited 2019  November 13].   Available from:  https://reliefweb.int/sites/reliefweb.int/files/resources/UNICEF%20WHO%20PHL%20SitRep1_Polio%20Outbreak_19Sep2019.pdf  

11. UNICEF-WHO. Philippines Situation Report 6 Polio Outbreak. [cited 2019 November 24]. Available from: https://reliefweb.int/sites/reliefweb.int/files/resources/UNICEF%20WHO%20PHL%20SitRep%206_Polio%20Outbreak_1Nov2019.pdf 

12. UNICEF-WHO. Philippines Situation Report 5 Polio Outbreak. [cited 2019 November 24]. Available from: https://reliefweb.int/sites/reliefweb.int/files/resources/UNICEF%20WHO%20PHL%20SitRep%205_Polio%20Outbreak_25Oct2019.pdf 

13. World Health Organization.  WHO-UNICEF estimates of Pol3 coverage. [cited 2019  November 13].   Available from: http://apps.who.int/immunization_monitoring/globalsummary/timeseries/tswucoveragepol3.html

 14. World Health Organization.  WHO-UNICEF estimates of IPV1coverage, [cited 2019 November 13].  Available from:  http://apps.who.int/immunization_monitoring/globalsummary/timeseries/tswucoverageipv1.html

15. UNICEF-WHO. Philippines Situation Report 2 Polio Outbreak. [cited 2019 November 24]. Available from: https://reliefweb.int/sites/reliefweb.int/files/resources/UNICEF%20WHO%20PHL%20SitRep%202_Polio%20Outbreak_30Sep2019.pdf 

16. UNICEF-WHO. Philippines Situation Report 3 Polio Outbreak. [cited 2019 November 24]. Available from: https://reliefweb.int/sites/reliefweb.int/files/resources/UNICEF%20WHO%20PHL%20SitRep%203_Polio%20Outbreak_8Oct2019.pdf 

17. สำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุข. Polio. [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://www.boe.moph.go.th/boedb/surdata/disease.php?ds=20 

18. สถาบันวัคซีนแห่งชาติ.EPI program : วัคซีนพื้นฐาน. [เข้าถึงเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2562]. เข้าถึงได้จากhttp://nvi.go.th/index.php/vaccine-knowledge/epi-program

19. Centers for Disease Control and Prevention. Polio in the Philippines. [cited 2019  November 13]. Available from: https://wwwnc.cdc.gov/travel/notices/alert/polio-philippines 


ไฟล์แนบบทความ
 Download [659 kb]