บทสรุป Workshop on National Immunization Program and Vaccine Coverage in ASEAN Countries
ผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง National Immunization Program and Vaccine coverage in ASEAN countries ซึ่งประกอบด้วยผู้เช้าร่วมประชุมจาก 9 ประเทศได้แก่ กัมพูชา อินโดนิเชีย ลาวมาเลเซีย เมียนมา ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนามสรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้
1. โปรแกรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศในอาเซียนโปรแกรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันระดับชาติของแต่ละประเทศเริ่มต้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกันดังต่อไปนี้ปี ค.ศ. 1863 และทศวรรษ 1950 สิงคโปร์และมาเลเซียเริ่มการให้วัคซีนป้องกันฝีดาษปี ค.ศ. 1976 ฟิลิปปินส์เริ่ม (Expanded program of immunization) ในเด็กและทารกอายุต่ำกว่า 8 ปีปี ค.ศ. 1981 เวียดนามเริ่มการให้วัคซีนโดยเป็นการรณรงค์เฉพาะในบริเวณที่มีการระบาดของโรคโดยวัคซีนที่ได้รับจากการบริจาคได้แก่วัคซีนไข้หวัดใหญ่ โปลิโอ คอตีบ และไทฟอยด์
ปี ค.ศ. 1986 กัมพูชาเริ่มให้วัคซีนพื้นฐาน 6 ชนิดในบางส่วนของประเทศและครอบคลุมทั้งประเทศในปลายปี ค.ศ. 1988โปรแกรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันตามระบาดวิทยาของโรค ภาระโรค ความคุ้มค่าเมื่อเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพของวัคซีนบนพื้นฐานของหลักฐานเชิงประจักษ์ (evidence base) บางประเทศได้รับการสนับสนุนจากองค์กรภายนอกเช่น องค์การอนามัยโลก กองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF)GAVI (The global alliance for vaccine and immunizations) เป็นหน่วยงานภายนอกประเทศที่จัดสรรวัคซีนให้ประเทศกำ ลังพัฒนาที่มีรายได้ประชาชาติน้อยแต่มีความจำ เป็นต้องได้รับวัคซีนที่มีราคาสูงสำ หรับตารางการให้วัคซีนพื้นฐานของประเทศในอาเซียนสรุปได้ ดังตาราง
2. ความสำเร็จในการควบคุมโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
- โรคโปลิโอถูกกำจัดไปจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- กัมพูชาไม่พบผู้ป่วยโรคหัดตั้งแต่ปี ค.ศ. 2011 หลังการรณรงค์กวาดล้างหัด
- เมียนมาร์ไม่พบผู้ป่วยบาดทะยักในมารดาและทารกตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010
- ไทยเป็นผู้นำในการเริ่มให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่ในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในภูมิภาค
3. ปัญหา อุปสรรค ความท้าทายในการให้บริการวัคซีน
- ปัญหาความครอบคลุมของวัคซีนไม่ทั่วถึงโดยเฉพาะในบริเวณชนบทห่างไกล กลุ่มประชากรที่อัตราการเคลื่อนย้ายสูงเช่น กลุ่มแรงงานต่างชาติ ผู้อพยพ บริเวณที่มีปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองหรือสงคราม เช่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย ลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศมีลักษณะเป็นเกาะ เช่น อินโดนิเชียทำ ให้เกิดความยากลำ บากในการเข้าถึงวัคซีน
- ปัญหาคุณภาพของวัคซีน เช่น ปัญหาการควบคุมคุณภาพระบบลูกโซ่ความเย็น
- ปัญหาไม่สามารถเช้าถึงวัคซีนทางเลือกเนื่องจากวัคซีนมีราคาแพง
- ปัญหากลุ่มต่อต้านวัคซีน โดยเฉพาะในประเทศอินโดนิเชีย
- ปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยา การเกิดโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำทำให้ขาดความต่อเนื่องในการรักษาอัตราความครอบคลุมของวัคซีนในประเทศมาเลเซีย
- ปัญหาความครอบคลุมวัคซีนลดลงหลังจากเกิดการเสียชีวิตของทารกหลังได้รับวัคซีนตับอักเสบบีในประเทศเวียดนาม
- ความท้าทายในการเข้าถึงบริการสร้างเสริมสุขภาพอย่างเท่าเทียมโดยเฉพาะในประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรครุนแรง
- ความท้าทายในการนำวัคซีนใหม่เข้าสู่ตารางวัคซีนพื้นฐานในแต่ละประเทศ รวมถึงการพัฒนาตารางวัคซีนให้ทันสมัย
- ความท้าทายในการติดตามประสิทธิภาพและการเฝ้าระวังความปลอดภัยของวัคซีนในประเทศสิงคโปร์ ตัวอย่างเช่น การลดลงของภูมิคุ้มกันจากวัคซีนไอกรนชนิดไร้เซลเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรค
4. การแก้ไขปัญหาในการบริหารจัดการวัคซีน
- ความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และผู้นำ ทางศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความครอบคลุมวัคซีน
- เพิ่มความเชื่อมโยงระหว่างชุมชนและศูนย์บริการสาธารณสุขเพื่อความสำเร็จในการเข้าถึงบริการอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม
- ปรับปรุงระบบลูกโซ่ความเย็น รวมถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอและได้มาตรฐาน
- ปรับปรุงระบบเฝ้าระวังโรค การรายงานผลข้างเคียงจากวัคซีนให้มีประสิทธิภาพ
- มีการนำ ร่องและการศึกษาประสิทธิภาพและความคุ้มค่าของวัคซีนใหม่โดยนำ ข้อมูลที่ได้ไปปรับปรุงตารางวัคซีนพื้นฐานให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่
- การใช้สื่อสารมวลชนและเทคโนโลยีในการประชาสัมพันธ์และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ประชาชนเพื่อลดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ต่อต้านการให้วัคซีน
- การรวมกลุ่มของประเทศในอาเซียนเพื่อกำ หนดราคาวัคซีนเนื่องจากในปัจจุบันบริษัทผู้ผลิตวัคซีนมีการจำหน่ายวัคซีนแต่ละประเทศในราคาที่แตกต่างกัน
- การพิสูจน์หาสาเหตุการเสียชีวิตหลังได้รับวัคซีนว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกับวัคซีนเพื่อลดความตื่นตระหนกของประชาชน ส่งผลให้รักษาอัตราการครอบคลุมของวัคซีนได้
- ออกกฎหมายให้การบริการวัคซีนให้เป็นสิทธิชั้นพื้นฐานที่รัฐบาลต้องให้การดูแลและสนับสนุนเช่นเดียวกับในประเทศฟิลิปปินส์
สรุป
การประชุมครั้งนี้เป็นการระดมสมอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อแก้ปัญหาและหาแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพในการให้บริการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นตามบริบทของแต่ละประเทศ โดยมีเป้าหมายสำคัญคือการลดหรือกำจัดโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้หมดไป เพื่อให้ประชากรในภูมิภาคอาเซียนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต
สนับสนุนการแสดงผลในทุกอุปกรณ์ของคุณ
สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย
ชั้น 9 อาคารเฉลิมพระบารมี 50 ปี
เลขที่ 2 ซอยศูนย์วิจัย ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
Tel: 02-716-6534 FAX: 02-716-6535 E-Mail: webmaster@pidst.or.th, info@pidst.or.th