ตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2558 - 12 มิถุนายน 2558 กระทรวงสาธารณสุขของประเทศเกาหลีใต้รายงานผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อ 126 ราย (ในจำนวนนี้มีผู้ป่วย 1 รายที่เดินทางไปประเทศจีนและได้รับการตรวจยืนยันเชื้อขณะอยู่ในประเทศจีน)เสียชีวิต 11 ราย ทำให้เกาหลีใต้เป็นประเทศที่พบผู้ป่วยเป็นอันดับสองรองจากซาอุดิอาระเบีย และยังเป็นประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยมากที่สุดนอกภูมิภาคตะวันออกกลางเป็นผู้ที่รับเชื้อจากผู้ป่วยรายแรก(secondary case) จำนวน 39 ราย โดยส่วนใหญ่เกิดที่ Pyeongtaek St. Mary's Hospital(37ราย) ในจังหวัด Gyeonggiส่วนอีก 2 รายเกิดที่คลินิกสองแห่งที่ผู้ป่วยรายแรกเดินทางไปรักษาคือ ที่Asan Medical Center 1 ราย และ 365 Yeol Lin Hospital 1 ราย
ส่วนที่เหลือเป็นกลุ่มที่รับมาจากsecondary caseอีกต่อหนึ่ง(tertiary case)จำนวน 86 ราย ซึ่งกระจายใน 7 โรงพยาบาล ในจำนวนนี้โรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยจำนวนมากที่สุดคือ Samsung Medical Centerในกรุง Seoulซึ่งมีผู้ป่วยถึง 59 ราย ส่วนโรงพยาบาลอื่นๆมีแห่งละไม่เกิน 10 ราย (รูปที่ 1)
รูปที่ 1แผนผังแสดงความเชื่อมโยงของผู้ป่วยยืนยันโรคเมอร์สในประเทศเกาหลีใต้ (ข้อมูลขณะที่มีรายงานผู้ป่วย 122 ราย)
แหล่งข้อมูล :http://dj.kbs.co.kr/resources/2015-06-04/
รูปที่ 2แผนภาพแสดงการกระจายของผู้ป่วยตามวันเริ่มป่วย* และสถานที่ที่คาดว่าจะรับเชื้อ
หมายเหตุในรายที่ไม่มีข้อมูลวันเริ่มป่วยใช้ข้อมูลวันที่พบผู้ป่วยแทน
แหล่งข้อมูล :European Centre for Disease Prevention and Control
สถานการณ์การระบาดในPyeongtaek St. Mary's Hospital
ในจำนวนผู้ป่วย 37 ราย เป็นผู้ป่วยที่มารับการรักษาด้วยโรคอื่นๆ 21 รายญาติหรือผู้มาเยี่ยมผู้ป่วย13ราย และบุคลากรทางการแพทย์ 5 ราย ทั้งนี้การติดเชื้อเกิดขึ้นทั้งในผู้ที่อยู่ร่วมห้องกับผู้ป่วยรายแรก ผู้ที่อยู่วอร์ดเดียวกัน และผู้ที่อยู่ในตึกผู้ป่วยคนละชั้นกับผู้ป่วยรายแรก ทั้งนี้ภายหลังจากตรวจพบเชื้อ MERS ในผู้ป่วยรายแรกในวันที่ 20 พฤษภาคม 2558ตามด้วยการแพร่ระบาดในผู้สัมผัสหลายราย ได้มีการปิดโรงพยาบาลแห่งนี้ในวันที่ 29 พฤษภาคม 2558
สถานการณ์การระบาดในโรงพยาบาล Samsung Medical Center
ผู้ป่วยรายแรกที่เป็นต้นเหตุของการระบาดในโรงพยาบาลแห่งนี้ (เป็นผู้ป่วยรายที่14 ของการระบาดในเกาหลี) เป็นชาย อายุ 35 ปี และมีประวัติเข้ารับการรักษาในวอร์ดเดียวกับผู้ป่วยรายแรกของประเทศระหว่างวันที่ 15 -17 พฤษภาคม 2558 ที่โรงพยาบาล St. Mary หลังออกจากโรงพยาบาลแล้วกลับมามีไข้อีกจึงไปโรงพยาบาลอีกสองแห่ง จากนั้นได้นั่งรถบัสเข้าไปกรุงโซล เพื่อเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล Samsung Medical Centerในวันที่ 27 พฤษภาคม 2558ที่แผนกฉุกเฉิน (Emergency department) และได้รับการวินิจฉัยเป็นโรคเมอร์สในวันที่ 29 พฤษภาคม 2558
หลังจากนั้นมีผู้ป่วยเมอร์สในโรงพยาบาล Samsung Medical Center เกิดขึ้นอีก 59 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วย 31 รายญาติหรือผู้มาเยี่ยม 16 ราย บุคลากรทางการแพทย์ 5 ราย และยังไม่ทราบข้อมูล9 รายเกือบทุกรายติดเชื้อขณะอยู่ที่แผนกฉุกเฉิน ยกเว้น 1 รายซึ่งเป็นผู้ป่วยนอกของแผนกกระดูกและข้อ แต่มาเข้าห้องน้ำที่แผนกฉุกเฉิน ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีประวัติมาที่แผนกฉุกเฉินของโรงพยาบาลนี้ในวันที่ 27 พฤษภาคม ทั้งนี้ได้มีการพยายามอธิบายว่าทำไมจึงเกิดการแพร่อย่างมากในแผนกฉุกเฉิน โดยมีข้อมูลเพิ่มเติมว่าผู้ป่วยต้องนอนรอที่แผนกฉุกเฉินถึงสองวันเพื่อให้มีเตียงว่างในแผนกผู้ป่วยใน ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่พบได้บ่อยในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ในประเทศเกาหลี จากนั้นผู้ป่วยถูกย้ายเข้าห้องแยกในวันที่ 29 พฤษภาคม 2558 เมื่อมีข้อมูลว่าผู้ป่วยรายนี้เป็นผู้สัมผัสของผู้ป่วยรายแรกของประเทศ
ข้อมูลในกลุ่มผู้เสียชีวิต
ผู้เสียชีวิตทั้ง 11ราย อายุระหว่าง 57-82 ปี มัธยฐาน 72ปี เพศชาย 6 ราย หญิง5ราย ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว เช่น หอบหืด ความดันโลหิตสูง ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ มะเร็งตับ มะเร็งไต เป็นต้น
ข้อมูลผู้ป่วยที่เป็นบุคลากรในโรงพยาบาล
มีผู้ป่วย 14 รายที่เป็นบุคลากรในโรงพยาบาล ในจำนวนนี้ 13 รายเป็นบุคลากรทางการแพทย์ (แพทย์ 2 ราย พยาบาล 7 รายและไม่ระบุอาชีพอีก 4 ราย) ส่วนอีก 1 รายเป็นเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ในส่วนของบุคลากรทางการแพทย์แยกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ที่รับเชื้อจากผู้ป่วยรายแรก จำนวน 5 ราย (จากPyeongtaek St. Mary's Hospital 3 รายและที่คลินิกทั้งสองแห่ง แห่งละ 1 ราย) และที่เหลืออีก 8 รายเป็นผู้ที่รับเชื้อจากผู้ป่วยรายที่ 14 ที่แผนกฉุกเฉินของ Samsung Medical Center ทั้งหมด ทั้งนี้มีข้อสังเกตว่าในกลุ่มนี้บางรายใช้เวลาอยู้ใกล้ชิดผู้ป่วยเพียงสั้นๆ เช่น แพทย์ที่คลินิกของ 365 Yeol Lin Hospital ใช้เวลากับผู้ป่วยเพียง 5 นาที หรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของ Asan Medical Center ซึ่งใช้เวลาอยู่กับผู้ป่วยประมาณ 10 นาที
ตารางที่ 1 ข้อมูลสรุปของผู้ป่วยเมอร์สในประเทศเกาหลีใต้ที่เป็นบุคลากรในโรงพยาบาล
ข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วย
จากการศึกษาผู้ติดเชื้อ 58 รายของ Korean Society of Infectious Diseases อาการและอาการแสดงที่พบส่วนใหญ่มีไข้ ร้อยละ 89.6 ไอ ร้อยละ 34.4 chest congestion ร้อยละ 24.4 ปวดตามกล้ามเนื้อร้อยละ 24.4 และหายใจลำบากร้อยละ 18.9 มีเพียง 1 รายที่ไม่แสดงอาการ มีข้อสังเกตว่าหลังจากมีอาการแสดง 7 วัน ผู้ติดเชื้อประมาณร้อยละ 50 จะไม่พบอาการไข้
ด้านปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ จากการศึกษาฉบับเดียวกันพบว่าผู้ติดเชื้อร้อยละ 63.8 มีunderlyingconditions เช่น chronic lung diseases และข้อมูลผู้ติดเชื้อ 45 ราย ร้อยละ 17 มีประวัติความดันโลหิตสูงร้อยละ 14มีประวัติเบาหวาน ร้อยละ 12 มีประวัติมะเร็ง ร้อยละ 8.6 มีความผิดปกติเกี่ยวกับตับและร้อยละ 8.6 มีความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจเมื่อเปรียบเทียบอาการและอาการแสดงกับผู้ติดเชื้อในประเทศอื่นๆ พบว่าเชื้อเมอร์สจะทำให้เกิดความผิดปกติของปอดและไตของผู้ติดเชื้อด้วย แต่จากการศึกษาที่ประเทศเกาหลีใต้มี kidney involvementเพียงร้อยละ 4
ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม
จากผลการวิเคราะห์เบื้องต้นของรหัสพันธุกรรมของเชื้อ MERS coronavirus (MERS-CoV) จากผู้ป่วยของประเทศเกาหลีและจีน พบว่ามีความใกล้เคียงกับเชื้อในภูมิภาคตะวันออกกลางถึงมากกว่าร้อยละ 99
มาตรการของประเทศต่างๆในเอเซีย
แหล่งข้อมูล