คาดการณ์การระบาดและสถานการณ์โรคไข้เลือดออก ไข้เลือดออกช็อก และไข้เดงกี


1. สถานการณ์กลุ่มโรคไข้เลือดออก (รวม 3 รหัสโรค) ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา แยกรายจังหวัด


          1.1 พิจารณาจากอัตราป่วย
                    • การแบ่งกลุ่มจังหวัด ตามอัตราป่วยในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประเมินความรุนแรงของสถานการณ์ปัจจุบันเพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจเชิงนโยบาย (เช่น การจัดสรรทรัพยากร) ไม่ควรนำไปเป็นตัวชี้วัดในประเด็นอื่น ๆ เช่นผลสำเร็จของการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรค ซึ่งจะมีตัวชี้วัดที่แม่นยำกว่า เช่น การวัดที่กระบวนการ สำหรับเกณฑ์การแบ่งกลุ่มจะแทนด้วยสีดังต่อไปนี้
                              o สีแดง หมายถึง จังหวัดที่มีอัตราป่วย > 10 ต่อประชากรแสนคน
                              o สีเหลือง หมายถึง จังหวัดที่มีอัตราป่วย > 5 และ ≤ 10 ต่อประชากรแสนคน
                              o สีเขียว หมายถึง จังหวัดที่มีอัตราป่วย ≤ 5 ต่อประชากรแสนคน
                    • ข้อจำกัดของการจัดลำดับพื้นที่ คือ กรณีที่ข้อมูลส่งเข้ามาล่าช้า ส่งผลให้ตัวเลขที่ปรากฏน้อยกว่าความจริง

t1.jpgt2.jpgt3.jpgt4.jpg

          จังหวัดซึ่งมีอัตราป่วยช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ (สีเขียว) แต่พื้นที่จังหวัดข้างเคียงพบอัตราป่วยอยู่ในเกณฑ์ที่สูง (สีแดง) (มีลักษณะคล้ายไข่ดาว) นับเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดจึงควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ จังหวัดพิจิตร ลพบุรี สิงห์บุรี และ นครนายก (รูปที่ 1)
          ส่วนกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี และระนอง ไม่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ควรตรวจสอบข้อมูลจากสถานบริการสาธารณสุขภายในจังหวัดโดยด่วน หากพบผู้ป่วยให้รีบรายงานย้อนหลังเพิ่มเติมทันที


          1.2 พิจารณาการเกิดโรคไข้เลือดออก โดยเทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี
                   สำหรับเกณฑ์การแบ่งกลุ่มจะแทนด้วยสีดังต่อไปนี้
                    • สีแดง หมายถึง จังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วยมากกว่าค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี +20%
                    • สีเหลือง หมายถึง จังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วย > ค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี แต่ < ค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี +20%
                    • สีเขียว หมายถึง จังหวัดที่มีจำนวนผู้ป่วยน้อยกว่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี


          จังหวัดซึ่งมีอัตราป่วยช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ (สีเขียว) แต่พื้นที่จังหวัดข้างเคียงพบอัตราป่วยอยู่ในเกณฑ์ที่สูง(สีแดง) (มีลักษณะคล้ายไข่ดาว) นับเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดจึงควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ ได้แก่ จังหวัดแพร่ น่าน พิจิตร ลพบุรีนครนายก ระยอง จันทบุรี สุรินทร์ และอุบลราชธานี


          ส่วนกรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ปทุมธานี และระนอง ไม่มีรายงานผู้ป่วยในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ควรตรวจสอบข้อมูล
จากสถานบริการสาธารณสุขภายในจังหวัดโดยด่วน หากพบผู้ป่วยให้รีบรายงานย้อนหลังเพิ่มเติมทันที (รูปที่ 2)

map2.jpg

2. สถานการณ์กลุ่มโรคไข้เลือดออก (รวม 3 รหัสโรค) ในภาพรวมประเทศ


          ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 22 มิถุนายน 2554 สำนักระบาดวิทยาได้รับรายงานผู้ป่วยเข้าข่ายและผู้ป่วยยืนยัน ในกลุ่มโรคไข้เลือดออกทั้ง 3 รหัส (ไข้เลือดออก ไข้เลือดออกช็อก และไข้เดงกี) โดยรายงาน 506 จำนวนทั้งสิ้น 18,873 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 29.71 ต่อประชากรแสนคน พบผู้เสียชีวิต 12 ราย อัตราป่วยตายร้อยละ 0.06


          อัตราส่วนเพศชาย ต่อ เพศหญิง เท่ากับ 1.04 : 1 กลุ่มอายุที่พบสูงสุดคือกลุ่มอายุ 15- 24 ปี (5,156 ราย) รองลงมาคือ กลุ่มอายุ
10 – 14 ปี (4,710 ราย) และ 5 - 9 ปี (2,876 ราย) อาชีพที่พบสูงสุด คือ นักเรียน เท่ากับ 9,053 ราย รองลงมา คือ ในปกครอง รับจ้าง
เกษตรกร และงานบ้าน เท่ากับ 4,214, 3,331, 903 และ 444 ราย ตามลำดับ พบผู้ป่วยในเขตเทศบาลร้อยละ 21.86 (4,125 ราย) และ
ในเขตองค์การบริหารตำบลร้อยละ 78.14 (14,748 ราย)

ตารางที่ 2 การแบ่งกลุ่มจังหวัดตามจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก (รวม 3 รหัสโรค) ในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา เทียบกับค่ามัธยฐานย้อนหลัง
5 ปี และค่ามัธยฐานย้อนหลัง 5 ปี +20%

tt1.jpgtt2.jpg

3. คาดการณ์การระบาดกลุ่มโรคไข้เลือดออกในภาพรวมประเทศ


          จำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในภาพรวมประเทศเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้นตั้งแต่สัปดาห์ที่ 14 (ต้นเดือนเมษายน) เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่สัปดาห์ที่ 18 (ต้นเดือนพฤษภาคม) จากสถิติปีที่ผ่านมาจำนวนผู้ป่วยนับตั้งแต่ช่วงเวลานี้เป็นต้นไปจะเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยพบจำนวนผู้ป่วยสูงสุดในช่วงสัปดาห์ที่ 30-35 (เดือนสิงหาคม) และหลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดลงจนกลับสู่ระดับปกติ (รูปที่ 3)


          การที่พบว่ากราฟในช่วงสัปดาห์ที่ 21-25 ลดลง มิได้หมายถึงแนวโน้มผู้ป่วยที่ลดลง แต่เป็นผลจากความล้าช้าในการรายงานโรคซึ่งส่วนหนึ่งเกิดขึ้นปกติจากขั้นตอนการเก็บรวบรวมและตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล จากสถิติของปีที่ผ่านมาพบว่าการรายงานไข้เลือดออกจะสมบูรณ์ (รายงานครบมากกว่าร้อยละ 80) ใช้เวลาโดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้การคาดการณ์การระบาดในอนาคตโดยอาศัยข้อมูลในช่วง 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ควรพิจารณาจากข้อมูลย้อนหลังอย่างน้อย 5 ปี


          จากข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่เริ่มพบการระบาดของไข้เลือดออกในประเทศไทย (พ.ศ.2501) พบการระบาดใหญ่ของไข้เลือดออก(พบอัตราป่วยสูงสุดในทุกพื้นที่) เกิดขึ้นมีลักษณะคล้ายเป็นวงรอบ (Cycle) ทุก ๆ 10 ปี โดยการระบาดใหญ่แต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ5 ปี เช่น การระบาดใหญ่ช่วงปี พ.ศ.2530 - 2535, ปี พ.ศ.2540 - 2545 และ ปี พ.ศ.2550 - ปัจจุบัน หากสมมติฐานและเงื่อนไขการระบาดใหญ่ไม่แตกต่างจากอดีตที่ผ่านมา อาจคาดการณ์ได้ว่า การระบาดใหญ่ในวงรอบนี้ยังไม่สิ้นสุด แต่อาจต่อเนื่องไปอีก 1-2 ปี โดยอัตราป่วย(ในภาพรวมประเทศ) ปี พ.ศ.2554 - 2555 อาจใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาหรือเริ่มเห็นแนวโน้มที่ลดลงตามลำดับ

graph_1.jpg

(ท่านสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็ปไซต์ http://www.boe.moph.go.th)


ที่มา http://www.boe.moph.go.th/ 403 รายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์ ปีที่ 42 ฉบับที่ 26 : 8 กรกฎาคม 2554