Vaccination for all ages


Jean-Marie Okwo-Bele, WHO (Switzerland)
บทความโดย ผศ.นพ. ชนเมธ เตชะแสนศิริ

ปัจจุบันอายุเฉลี่ยของคนยาวนานมากขึ้นกว่าในอดีต ซึ่งเป็นผลจากการพัฒนาทางการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งรวมถึงผลจากการให้วัคซีนด้วย Strategic Advisory Group of Experts (SAGE) on Immunization เป็นคณะทำ งานที่ให้คำ แนะนำ แก่องค์การอนามัยโลกเกี่ยวกับเรื่องของการให้วัคซีน ปัจจุบันได้มีการจัดทำเป็นตารางซึ่งแสดง ให้เห็นถึงวัคซีนที่แนะนำ ให้ทั้งในเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ ดังตารางที่ 1

v1.jpg


วัคซีนบางชนิดแนะนำ ให้กระตุ้นในช่วงวัยรุ่นและผู้ ใหญ่ เช่น วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน วัคซีนบางชนิดแนะนำให้ให้ในช่วงวัยรุ่นเช่น วัคซีนเอชพีวี นอกจากนั้นยังมีวัคซีนอีกหลายชนิดที่แนะนำ ให้ใช้เป็นเฉพาะกรณี ดังในตารางที่ 2

v2.jpg



10.jpg

วัคซีนที่แนะนำ ให้ใช้ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค เช่น วัคซีนไข้สมองอักเสบเจอี วัคซีนไข้เหลือง และวัคซีนไข้สมองอักเสบจากเห็บหรือหมัด วัคซีนที่แนะนำ ให้ใช้ในประชากรกลุ่มเสี่ยง เช่น วัคซีนไทฟอยด์ วัคซีนอหิวาตกโรค วัคซีนไข้กาฬหลังแอ่น วัคซีนตับอักเสบเอ และวัคซีนพิษสุนัขบ้า วัคซีนที่แนะนำให้ใช้ในกรณีเฉพาะอื่นๆ เช่น วัคซีนคางทูม วัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคซีนอีสุกอีใสGlobal Vaccine Action Plan (GVAP) มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความครอบคลุมการให้วัคซีนในทุกกลุ่มประชากร ไม่ว่าจะเกิดที่ใดเป็นใคร หรืออาศัยอยู่ที่ใดก็ตาม ซึ่งจะป้องกันการเสียชีวิตจากโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนอีกจำนวนมาก

- การให้วัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ ปัจจุบันแนะนำ ให้วัคซีนบาดทะยัก และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ นอกจากนั้นอาจให้วัคซีนไอกรน ในกรณีที่มีการระบาดของโรคในประเทศนั้นๆ และยังมีวัคซีนที่ยังอยู่ในระหว่างการศึกษาวิจัย เช่น วัคซีน RSV และวัคซีน group B streptococci การให้วัคซีนบาดทะยักในหญิงตั้งครรภ์ เป็นผลให้สามารถป้องกันการเกิดโรคบาดทะยักในเด็กแรกเกิดและหญิงตั้งครรภ์ได้ประสบความสำเร็จใน 36 ประเทศในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 2000-2015

- การให้วัคซีนในเด็ก ปัจจุบันมีการให้วัคซีนบังคับในเด็กเพิ่มขึ้นเรื่อยๆในหลายประเทศ นอกจากวัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน วัคซีนหัดวัคซีนโปลิโอ และวัคซีนตับอักเสบบี แล้วหลายประเทศยังมีการให้วัคซีนฮิบ วัคซีนพีซีวี และวัคซีนโรต้าในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในประเทศด้วย บางประเทศอาจได้รับการสนับสนุนจาก GAVIประเทศที่ให้วัคซีนโรต้าพบว่าสามารถลดการติดเชื้อไวรัสโรต้าได้ชัดเจนเมื่อเทียบกับประเทศที่ไม่ได้ให้วัคซีนไวรัสโรต้า โดยเฉพาะในเด็กอายุน้อยกว่า 1-2 ปี

- การให้วัคซีนในวัยรุ่น เช่น วัคซีนเอชพีวี ควรจะมีแนวทางเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความครอบคลุมของการให้วัคซีน ซึ่งอาจจะรวมเข้ากับแนวทางหรือวิธีการอื่นๆ ที่มีดำเนินการอยู่แล้วในช่วงวัยรุ่น วัคซีนเอชพีวีนี้ควรจะพิจารณาให้ในวัยรุ่น โดยเฉพาะประเทศที่มีประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูก
v3.jpg

- การให้วัคซีนในผู้ใหญ่ อาจยังไม่มีแนวทางที่มากนักในประเทศต่างๆแต่มีการแนะนำการให้วัคซีนในบุคลากรทางการแพทย์ เช่น วัคซีน
หัดเยอรมัน วันซีนไข้กาฬหลังแอ่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนอีสุกอีใสวัคซีนตับอักเสบบี วัคซีนโปลิโอ วัคซีนคอตีบ และวัคซีนหัดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการด้านวัคซีน

- ตามที่ GVAP ได้วางเป้าหมายในการให้วัคซีนในเด็กไว้ 6 เรื่องพบว่าน่าจะทำได้สำเร็จเพียง 1 เรื่อง คือ การให้มีวัคซีนใหม่อย่างน้อย 1 ชนิดเข้าในแผนการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันของประเทศที่มีรายได้น้อย และปานกลางอย่างน้อย 90 ประเทศ ภายในปี ค.ศ. 2015 ส่วนอีก 5 เรื่องที่น่าจะไม่สำเร็จ ได้แก่
  1. DTP3 ซึ่งได้วางเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี ค.ศ. 2015 ทุกประเทศจะต้องได้ความครอบคลุมการให้วัคซีนคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรน
  2. ครบ 3 โด๊สได้มากกว่า 90% และมากกว่า 80% ในทุกพื้นที่
  3. โปลิโอ ซึ่งคาดหวังว่าจะกำจัดโปลิโอได้ภายในปี ค.ศ. 2014แต่ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยอยู่ ซึ่งผู้ป่วยส่วนมากจะพบในประเทศปากีสถาน
  4. บาดทะยักในหญิงตั้งครรภ์และทารกแรกเกิด ซึ่งวางแผนจะทำให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2015 แต่พบว่าในหลายประเทศยังไม่มีความคืบหน้าในการดำเนินการ
  5. หัด วางแผนว่าจะกำจัดให้ได้ใน 4 พื้นที่ ภายในปี ค.ศ. 2015ดูจากแนวโน้มแล้วไม่น่าจะทำได้สำเร็จ
  6. หัดเยอรมัน วางแผนว่าจะกำจัดให้ได้ใน 2 พื้นที่ ภายในปี ค.ศ. 2015 ไม่น่าจะสำเร็จเช่นกัน
- การดำเนินการด้านการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันให้สำเร็จควรจะดำเนินการในทุกๆ พื้นที่ ซึ่งอาจจะต้องมีการเข้าถึงการบริการในทุกพื้นที่ เพิ่มการติดตาม (โดยเฉพาะวัคซีนที่ต้องมีการให้ซ้ำ) และเพิ่มความสามารถในการบริหารจัดการ- การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันในประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ควรมีแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้
  1. มีนโยบายและแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนโดยอาศัยข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่
  2. เพิ่มการผลักดันในนโยบายและเตรียมงบประมาณในการดำเนินการอย่างสม่ำเสมอ
  3. กระตุ้นการดำเนินการให้วัคซีนและจัดบริการการให้วัคซีนอย่างทั่วถึง
  4. ปรับปรุงและพัฒนาระบบในการบริหารวัคซีน
- บทบาทของกุมารแพทย์ ได้แก่ ดูแลผู้ป่วยเด็กให้ได้รับวัคซีนให้ครบตามกำหนด หากมีเด็กจะต้องเดินทางไปต่างประเทศควรให้ได้รับวัคซีนตามคำแนะนำของการเดินทางไปประเทศนั้นๆ ช่วยในการผลักดันให้รัฐบาลเห็นความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินงาน รวมทั้งงบประมาณสำหรับการดำเนินการสร้างเสริมภูมิคุ้มกัน และคอยติดตามการดำเนินการต่างๆ
ไฟล์แนบบทความ
 Download [455 kb]