จุลสารสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย | กรกฎาคม 2564




นายกสมาคมฯ เปิดใจแถลง

โดย รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี 

Screen_Shot_2562_02_03_at_22.27.24.png


 มิถุนายน 2564 ฝนฟ้าเป็นใจหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยชุ่มฉ่ำด้วยน้ำฝนทั้งในเมืองและในชนบทเห็นท้องนาเขียวขจีมากขึ้นดูแล้วสบายใจสบายตามากขึ้น แต่ในขณะที่เมืองใหญ่ต่างๆ โดยเฉพาะกรุุงเทพมหานคร ยังเต็มไปด้วยโรคระบาดโควิด-19 ตามแหล่งชุุมชน ตลาด ชุมชนที่อยู่่อาศัยจำนวนมากและที่สำคัญคือกลุ่มก้อนที่เป็นโรงงาน แคมป์คนงานที่มีทั้งแรงงานไทยและต่างด้าวพักร่วมกันและผสมโรงด้วยการระบาดในเรือนจำ เกือบทั่วประเทศอย่างกว้างขวางยากที่่จะควบคุมได้ ซึ่งในแต่ละวันจะมีรายงานผู้ป่วยใหม่ในระลอกนี้ประมาณวันละ 2-3 พันกว่ารายโดยมีผู้ป่วยสะสมในระลอกที่ 3 นี้รวม 167,046 ราย (ณ. วัันที่่ 13 มิถุนายน 2564) หากพิจารณาถึงสายพันธุ์ SARS-CoV-2 ที่ระบาดในประเทศไทยในระลอก 3 นี้ (เริ่มต้นจากคลัสเตอร์ทองหล่อ) จะเห็นว่าเป็นสายพันธุ์ B117 (หรือสายพันธุ์แอลฟ่าหรือสายพันธุ์อังกฤษ) เป็นหลักทำให้มีการแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม แต่ ณ. กลางเดือนมิถุนายน 2564 สายพันธุ์ B1617.2 (หรือสายพันธุ์เดลต้าหรือสายพันธุ์อินเดีย) เริ่มเข้ามาแทนที่อย่่างช้าๆ ซึ่งสายพันธุ์อินเดียนี้จะมีคุณสมบัติแพร่กระจายได้รวดเร็วกว่าสายพันธุ์อังกฤษถึง 50-60% และอาจก่อความรุนแรงของโรคเพิ่มขึนกว่าเดิมได้(กำลังศึกษาวิจัย) และเป็นที่น่าเชื่อได้ว่าสายพันธุ์อินเดียน่าจะระบาดแทนที่สายพันธุ์เดิมๆ ในประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลกจนหมดสิ้นในเร็วๆ นี้ซึ่งคาดการณ์ได้ค่อนข้างยากว่าแนวโน้มการระบาดจะเป็นเช่นไรและสงบ(ควบคุุมได้) ลงเมื่อใด โดยที่ทางฝ่ายการเมือง ฝ่ายบริหาร ฝ่ายทางการแพทย์และสาธารณสุข ร่วมมือร่วมใจในการต่อสู้อย่างเต็มความสามารถ พวกเราต้องเข้าใจว่าภาวะโรคระบาดวิด-19 ตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้้ เป็นโรคระบาดที่กว้างขวางและรวดเร็ว ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติเลย ดังนั้นการวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำไมถึงไม่ทำแบบนั้น แบบนี้ ขอเรียนว่าไม่มีใครทราบว่าแนวทางดำเนินงานแบบไหนจึงดีที่สุดและเหมาะที่สุดสำหรับประเทศไทยเรา เช่น มาตรการ lockdown มีผลชั่วคราวแต่มีผลการะทบต่อความเป็นอยู่และทางด้านเศรษฐกิจสังคมอย่างรุนแรง (ดังที่ประสบมาแล้วในปี 2563) มาตรการที่สองคือ วัคซีนโควิด-19 สำหรับคนไทยทุกคนน่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด

วัคซีนโควิด-19 จึงเป็นเครื่องมือในการต่่อสู้กับโรคระบาดโควิด-19 ที่สำคัญทั่วโลก อย่างไรก็ตามวัคซีนโควิด-19 นี้ถูกสร้างขึ้นมาจากนักวิทยาศาสตร์ทั่่วโลกในเวลาไม่ถึง 1 ปี จึงถููกนำำมาไว้ในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Use Author- rization ; EUA) ซึ่งประเทศผู้รับวัคซีนไปใช้ต้้องยอมรับความเสี่ยงเอง บริษัทผู้ผลิตไม่เป็นผู้รับผิดชอบ ดังนั้นบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์จึงสะดวกที่จะติดต่อเจรจากับรัฐบาลที่จะนำวัคซีนไปใช้เท่านั้น(ไม่เจรจากับบริษัทเอกชนหรือรพ.เอกชนทั้งสิ้น) ณ. กลางมิถุนายน 2564 วัคซีนโควิด-19 ที่มาขึ้นทะเบียนในกรณีฉุกเฉินนี้กับทาง อย. ประเทศไทยแล้ว 5 ชนิิด คืือ AstraZeneca , Sinovac , Johnson & Moderna และ Sinopharm ในอนาคตอันใกล้ คงมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ มาขึ้นทะเบียนกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเลือกชนิดของวัคซีนโควิด-19 ต่างๆ ได้มากขึ้นที่่ผ่่านมาในสื่อต่างๆ มีการเสนอผลการศึกษาวิจัยประสิทธิภาพ (Efficacy) ของวัคซีนหลายชนิด จะเห็นว่าคนส่วนใหญ่ดูที่ตัวเลข Efficacy จากการวิจัย ตัวเลขประสิทธิภาพเหล่านี้ขึ้นกับปัจจัยที่ต่างกััน เช่น ประเทศที่วิจัย ช่วงเวลาที่มีการระบาด เชื้อกลายพันธุ์ขณะทำการวิจัย ฯลฯ อย่างไรก็ตามประสิทธิผล (Effectiveness) จากการใช้จริงในแต่ละพื้นที่และเก็บข้อมูลผู้ที่ป่วย-ตาย จะมีความสำคัญในการวิเคราะห์ผลของวัคซีนโควิด-19 จากการใช้จริง

ดังนั้นพวกเราในฐานะเป็นบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ต้องดูแลผู้ป่วยและให้ข้อมููลที่ถููกต้องต่อสังคม และการเป็นตัวอย่างในการนำร่องฉีดวัคซีนโควิด-19 เพื่อป้องกันตัวเอง ป้องกันครอบครัว(เด็กและผู้สูงอายุในครอบครัว) และป้องกันชุมชนสังคมในการควบคุมโรคระบาดนี้ ในขณะที่ภาวะเชื้อกลายพันธุ์กำลังเป็นปัญหาทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยพวกเราคงต้องติดตามข้อมูลทางการแพทย์อย่่างใกล้ชิดว่าจะต้องมีการฉีดเข็มกระตุ้นอีกเมื่อไหร่ ต้องฉีดกระตุ้นวัคซีนโควิด-19 ชนิดไหน แต่ขณะเดียวกันต้องไม่ลืมการป้องกันตนเองตามมาตรการต่างๆ คือ “อย่าการ์ดตก”

สุดท้ายนี้ผมในฐานะนายกสมาคมฯ ขอเรียนให้ทราบว่าต่อจากนี้อีกประมาณ 1-2 เดือนผมจะอำลาตำแหน่งนายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทยซึ่งครบ 2 วาระ (6ปี) จึงแจ้งเพื่อให้อาจารย์และน้องๆ ที่มีพลังสมอง พลังกายและพลังใจ ในการสร้างสรรค์ผลงานของสมาคมฯ เจริญก้าวหน้าต่อไปเรื่อยๆ ขอขอบคุณท่านอาจารย์ทุกท่าน กรรมการบริหารและสมาชิกทุกท่านที่ช่วยขับเคลื่อนกิจกรรมของสมาคมฯ ให้ประสบความสำเร็จตลอดระยะ 6 ปี ที่ผ่านมารวมทั้งในขณะที่ศึกโควิิด-19 ยังไม่สงบ ผมขออารธนาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในสากลโลกนี้ ดลบันดาลให้ท่านนายกสมาคมฯ คนใหม่ คณะกรรมการบริหารและสมาชิกทุกท่านมีสุขภาพแข็งแรงทั้งใจและกาย เพื่อต่อสู้กับโรคระบาดนี้ต่อไปจนกว่าจะประสบความสำเร็จ


ดาวน์โหลดจุลสาร - คลิกที่นี่