จุลสารสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย | เมษายน 2564




นายกสมาคมฯ เปิดใจแถลง

โดย รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี 

Screen_Shot_2562_02_03_at_22.27.24.png


ขณะนี้เป็นเดือนมีนาคม 2564 แล้ว ดินฟ้าอากาศเริ่มร้อนมากขึ้นเรื่อยๆ และนี่ก็ครบมากว่า 1 ปีแล้วที่พวกเราร่วมกันต่อสู้กับโรคระบาด  COVID - 19 อย่างทรหดอดทนต่อภาระงานที่เพิ่มขึ้น อดทนต่อความจำกัดของทรัพยากรและมาตรการต่างๆ ทั้งปิดเมืองบางส่วน มาตรการจำกัดการเดินทาง มาตรการจำกัดการรวมกลุ่มการจัดการประชุมต่างๆ จนกระทั่งพวกเราเริ่มตุ้นเคยกับชีวติประจำของการใส่หน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง การประชุมทางออนไลน์เป็นกิจวัตรประจำวันจนรู้สึกเริ่มเสพติดกับการประชุมทางไกลซึ่งทำให้ชิวิตประจำวันสะดวกข้ึน ดําเนินชีวิตประจําวันหลายอย่างมากขึ้น ตอนน้ีสถานการณ์โรคโควิด-19 ณ กลางมีนาคม 2564 เริ่มผ่อนคลายจากผู้ป่วยหลักพันตอนกลางธันวาคม 2563 เป็นหลักร้อยและเป็นหลักสิบ อย่างไรก็ตามการท่ีจะกลับมาเป็นหลักหน่วยหรือ ศูนย์รายคงเป็นไปได้ยากมากเสียแล้ว เพราะเชื้อ SARS-CoV-2 ได้กลายเป็นเชื้อโรคประจําถิ่น (Endemicity) แล้ว นอกจากนี้การเกิดเชื้อโรคกลายพันธุ์ (Variants) มากขึ้นเรื่อยๆ แสดงถ้งสัจจธรรมว่าเชื้อโรคพยายามปรับตัวเพื่อให้มีชีวิตอยู่ ขณะที่มนุษย์เราก็ต้องพยายามใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการหลีกหนี จากการไล่จับของเชื้อโรคเหล่านี้ ซึ่งไม่แน่ใจว่ามนุษย์เราจะชนะเชื้อโรคได้หรือไม่ในอนาคตอันใกล้

สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในระลอกท่ีสองของประเทศไทย เร่ิมปรากฎชัดเจนในราวกลางธันวาคม 2563 จากศูนย์กลาง การระบาดที่ตลาดกลางกุ้ง จ.สมทุ รสาคร ทําให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่แพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่นๆ ของ จ.สมุทรสาคร และจังหวัดข้างเคียง สาเหตุน่าจะเกิดจากแรงงานข้ามชาติที่ผิดกฎหมายที่อาจเข้ามาทํางานบริเวณดังกล่าวซึ่งผลการระบาดที่แพร่ระบาดไปอย่างรวดเร็วและกว้างขวางมากไปเกือบค่อนประเทศไทย มีจำนวนผู้ป่วยมากกว่าระลอกแรกถึง 4-5 เท่า แต่อัตราตายต่ำกว่าระลอกแรกมาก น่าจะมีสาเหตุที่สำคัญคือผู้ติดเชื้อเป็นแรงงาน เป็นกลุ่มหนุ่มสาวซึ่งมีร่างกายแข็งแรง ส่วนใหญ่เป็นผู้ติดเชื้อไม่มีอาการ (Asymptomatic infection) ถ้ง 80-90 % และการรับมือของทางการแพทย์ของเรามีประสบการณ์มาจากระลอกแรกแล้ว จึงก่อกำเนิดระบบ การดูแลด้วย “รพ.สนาม” ขึ้นหลายแห่งใน จ.สมุทรสาคร และกลายเป็นรูปแบบ ในการดูแลรักษาผู้ติดเชื้อท่ีไม่มีอาการหรืออาการน้อยมากอย่างเหมาะสมกับระบบการแพทย์และสาธารณสุขไทย โดยมีหลักการไม่ให้ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการเหล่านี้ แพร่เชื้อในครอบครัวและชุมชนอย่างต่อเนื่อง ณ ปัจจุบัน (ต้นมีนาคม 2564) จำนวนผู้ป่วยที่รายงานจากกระทรวงสาธารณสุขประจำวันมีไม่เกิน 100 รายต่อวันและส่วนใหญ่ยังคงเป็นผู้ติดเชื้อมาจาก จ.สมุทรสาครที่เหลือเป็นจังหวัดข้างเคียง ส่วนพื้นที่ที่น่ากังวลใจและต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดคือพื้นที่ชายแดนที่ติดกับประเทศเมียนมาร์ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะมีทั้งคนไทยและคนเมียนมาร์หนีข้ามชายแดนเข้ามาในประเทศไทย เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศเมียนมาร์​ โดยไม่ผ่านช่องทางปกติของด่านชายแดนไทย

ในสถานการณ์โรคโควิด-19 ท่ีกระจายไปท่ัวโลก ก็มีข่าวดีอย่างยิ่งต่อวงการแพทย์และสาธารณสุข ต่อประเทศต่างๆ ทั่วโลกคือ วัคซีนป้องกันโควิด-19 ซึ่งเป็นเรื่องที่เหลือเชื่อจริงๆ ที่วัคซีนผลิตขึ้นมาในระยะเวลาเพียงไม่ถึง 1 ปี มีประสิทธิภาพที่สูงและมีความปลอดภัยในระดับที่รับได้ นอกจากน้ันในการใช้จริง ในหลายประเทศ (ส่วนใหญ่ประเทศที่พัฒนาแล้ว ) พบว่าเริ่มสามารถลดการระบาด ของโรคโควิด-19 ได้ดีพอควร (จำนวนผู้ป่วยใหม่ลดลงอย่างต่อเนื่อง) มีรายงานว่าการพบผลข้างเคียงชนิดรุนแรงบ้างแต่น้อยมาก พบรายงานผู้เสียชีวิตหลังฉีด วัคซีนบ้าง (แต่เมื่อสอบสวนแล้วยังไม่พบความเกี่ยวพันกับวัคซีน) สําหรับประเทศไทยวัคซีนโควิด -19 เพิ่งเริ่มฉีดในต้นเดือนมีนาคม 2564 ซึ่งคงมีแนวโน้มการฉีดครอบคลุมในทุกกลุ่มคนไทยมากขึ้นเรื่อยๆ พวกเราในฐานะกุมารแพทย์ โรคติดเชื้อถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความรู้ความชํานาญด้านวัคซีนอย่างมากในชีวิตการทํางานตลอดมาต้องเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนแผนงานฉีดวัคซีนโควิด -19 ของประเทศไทยให้ดำเนินการไปอย่างราบรื่น เพื่อความมั่นคงทางด้านสุขภาพและความฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไปในอนาคตอันใกล้ 

สุดท้ายนี้ผมขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมการประชุมวิชาการประจำปีของสมาคมฯ วันที่ 7-9 พฤษภาคม 2564 ท่ีพัทยาและพร้อมนี้ ผมในฐานะนายกและ คณะกรรมการบริหารสมาคมฯ ขอมอบความเอื้ออาทรและห่วงใยในสุขภาพของ สมาชิกทุกท่านและครอบครัวที่ได้ทำงานต่อสู้กับโรคระบาดโควิด -19 อย่างไม่ย่อท้อ เป็นปราการหลักทางด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้ประชาชนคนไทยและ ให้ประเทศไทยสามารถฟันฝ่าอุปสรรคความยากลําบากของโรคระบาดน้ีไปได้ อย่างราบรื่นปลอดภัยทุกๆ คน 




ดาวน์โหลดจุลสาร - คลิกที่นี่