Spot diagnosis



โดย นพ. ทรงเกียรติ  อุดมพรวัฒนะโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก

ประวัติ:                  เด็กชายไทยอายุ 14 ปี โรคประจำตัว ALL ประวัติไข้สูง 3 วันหลังจากนั้นปวดบวมและมีถุงน้ำที่เท้าขวา

ตรวจร่างกาย:         BT 39.5 C, PR 100/min, RR 24/min, BP 100/60 mmHg

Extremities: multiple bizarre-shaped hemorrhagic blebs sized > 10 cm at right dorsum and plantar of footon violaceous geographic plaques

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ: CBC:Hb 10.8 g/dL, Hct 32 %, WBC 20,000 cells/mm3

(N85% L10% M5%), Platelet 425,000 cells/mm3

333.JPG

                              รูปที่ 1                                   รูปที่ 2     รูปที่ 3

รูปที่ 1 และ 2 ลักษณะแผลที่ขาขวาเป็น hemorrhagic bleb

รูปที่ 3 น้ำจากแผลนำมาย้อม gram stainพบลักษณะ gram-negativebacilli

คำถาม จงบอกเชื้อที่น่าจะเป็นสาเหตุมากที่สุด

.

.

.

.

.

.

.

.

.

.

เฉลย: Aeromonas spp.

ผู้ป่วยมาด้วยอาการปวดบวมที่ขาขวา ตรวจพบมี hemorrhagic blebsเกิดขึ้นในเวลารวดเร็วเข้าได้กับอาการ necrotizing fasciitisนำน้ำจากแผลย้อม gram stain พบลักษณะ gram-negative bacilliผลเพาะเชื้อรายงาน Aeromonas spp.

โรคnecrotizing fasciitis หมายถึงมีภาวะติดเชื้อในชั้นเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังอย่างรุนแรง เชื้อก่อโรคเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล ทำให้เนื้อเยื่อเน่าตายทั้งชั้นผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียได้แก่แบคทีเรียแกรมบวกในกลุ่ม beta-hemolytic streptococci Group A,Staphylococcus spp.แบคทีเรียแกรมลบได้แก่ Vibrio spp.,Aeromonas spp.มักมีประวัติย่ำน้ำจืด, P. aeruginosa, Vibrio vulnificus มักจะมีประวัติกินอาหาร ทะเล (มักเป็นหอย) ที่ปรุงไม่สุก ส่วนกลุ่มเชื้อโรคที่มีประวัติสัมพันธ์กับการสัมผัสน้ำแล้วมีแผลติดเชื้อประกอบไปด้วย 5 เชื้อ “AEEVM” ได้แก่ Aeromonas species, Edwardsiellatarda, Erysipelothrixrhusiopathiae, Vibrio vulnificus, and Mycobacterium marinum.

เชื้อ Aeromonas spp. เป็นแบคทีเรียแกรมลบ รูปร่างเป็นแท่งสั้นตรงเคลื่อนที่ด้วยฟลาเจลลาอยู่ใน family Aeromonadacaaeมีอย่างน้อย 19สปีชีส์ ส่วนใหญ่พบในน้ำจืดและน้ำกร่อย ขนาดความยาวประมาณ 0.3-1 X 1-3.5 ไมครอน,ไม่สร้างสปอร์เจริญได้ทั้งในสภาพมีและไม่มีออกซิเจนเชื้อสามารถสร้างเอนไซม์และสารพิษหลายชนิดที่เป็นปัจจัยก่อโรครุนแรงเช่น hemolysin, protease, enterotoxin และ cytotoxinเชื้อแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ได้แก่ (1)Motile ก่อโรคในคน มี 8สปีชีส์เชื้อที่พบบ่อยคือ A.hydrophilaอาการและอาการแสดงที่พบบ่อยคือถ่ายเหลวเป็นน้ำรองลงมาคือ ติดเชื้อในกระแสเลือด, wound infections และ necrotizing fasciitis ส่วนอาการextraintestinal sites ที่มีรายงานได้แก่ osteomyelitis, meningitis, otitis media, conjunctivitis, endophthalmitis, pelvic abscess, endocarditis, peritonitis, และ cholecystitisคนติดเชื้อนี้จากการสัมผัสน้ำหรือกินอาหารที่มีเชื้อนี้อยู่ มีรายงาน outbreakครั้งแรกปี พ.ศ.2547 ที่ประเทศออสเตรเลียติดเชื้อกับนักฟุตบอล 26คนที่ย่ำน้ำโคลนที่มีเชื้อ(2) Non-motileก่อโรคเฉพาะในปลา

การวินิจฉัยย้อม gram stain จากบาดแผลพบลักษณะgram-negative bacilliแต่ไม่นิยมสำหรับตรวจหาเชื้อในอุจจาระและเลือด ส่วนการเพาะเชื้อสามารถเจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อทั่วไปได้และสลายเม็ดเลือดแดง (hemolysis)เมื่อเจริญบนอาหารวุ้นผสมเลือดแกะ ส่วนคุณสมบัติชีวเคมีสามารถสลายน้ำตาลกลูโคสด้วยขบวนการ fermentation และให้ผลบวกเมื่อทดสอบด้วย oxidase เชื้อมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับเชื้อ Viriospp.และ Plesiomonas spp.โดยสามารถแยกกันได้เนื่องจาก Aeromonas spp.ไม่สามารถเจริญบนอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีเกลือโซเดียมคลอไรด์เข้มข้น6%

การรักษา เชื้อ Aeromonas spp.ตอบสนองต่อยา Trimethoprim-sulfamethoxazole, fluoroquinolones, second or thirdgeneration Cephalosporin, Aminoglycosides, Carbapenems, Chloramphenicol และ Tetracyclinesเชื้อส่วนใหญ่สามารถสร้างเอนไซม์ b-lactamase ทำให้เชื้อดื้อยาในกลุ่มb-lactams เช่นPeniciilin, Ampicillin และ narroe-spectrum cephalosporins


 1. Max Aravena-Román, et al. Antimicrobial Susceptibilities of Aeromonas Strains Isolated from Clinical and Environmental Sources to 26 Antimicrobial Agents. Antimicrob Agents Chemother. 2012 Feb; 56(2): 1110–1112.
2. American Academy of Pediatrics.Aeromonas. In: Pickering LK, Baker   
CJ, Kimberlin DW, Long SS, eds. 2015 Red Book: Report of the Committee on Infectious    Diseases.30th ed. Elk Grove Village, IL: American Academy of Pediatrics 2015;865.Vally H, Whittle A, Cameron S, et al. Outbreak of Aeromonashydrophila wound infections associated with mud football. Clin Infect Dis. 2004 Apr 15; 38(8):1084-9.