หุ่นยนต์จุลินทรีย์


ในนิยายวิทยาศาสตร์ที่นักวิทยาศาสตร์ใช้หุ่นยนต์ขนาดจิ๋วเข้าไปแหวกว่ายในร่างกายมนุษย์เพื่อต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอม ในปัจจุบันนี้นักวิทยาศาสตร์ใช้แนวทางนี้มาพัฒนา โดยใช้จุลินทรีย์เสมือนเป็นหุ่นยนต์ขนาดจิ๋ว เพื่อนำส่งอนุภาคขนาดนาโนเมตรและยาต่างๆ

แทนที่จะออกแบบเครื่องยนต์ขนาดเล็กโดยเริ่มต้นจากการไมมี่อะไรเลย นักวิทยาศาสตร์บางคนทำการทดลองโดยมีแนวคิดที่จะใช้แบคทีเรียจำนวนหลายพันตัวที่อยู่ในร่างกายของคนเรา เมื่อเร็วๆ นี้ นักวิจัยได้ใช้จุลินทรีย์นำพาอนุภาคขนาดเล็กที่มีประโยชน์ และ ชิ้นส่วน DNA ได้สำเร็จ ถึงแม้จะเป็นเพียงการวิจัยเบื้องต้น นักวิศวกรรมและนักจุลชีววิทยาบางส่วนก็เห็นถึงความสำคัญ David H. Gracias นักวิศวกรรมศาสตร์ชีวโมเลกุลแห่งมหาวิทยาลัย Jonhs Hopkin ตกแต่ง เชื้อ E.coli ที่ไม่ก่อโรคด้วยลูกทรงกลมขนาดเล็ก รูปแท่ง และรูปทรงพระจันทร์เสี้ยว ที่ทำจากนิกเกิล และดีบุกเคลือบทองคำ

เมื่ออยู่ในร่างกาย อนุภาคขนาดเล็กเหล่านี้สามารถถูกทำให้ร้อนขึ้นจากรังสี อินฟาเรด เพื่อทำลายเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อโรค ความตั้งใจสูงสุดของ Graciasคือทำให้เชื้อแบคทีเรียเป็นตัวนำพาอนุภาคขนาดเล็กที่บรรจุยา และ ติดตั้งชุดเครื่องมือขนาดเล็กเพื่อทำการผ่าตัดในเซลล์

การศึกษาที่คล้ายกันของนักวิทยาศาสตร์ยืนยันว่าแบคทีเรียที่ทำการตัดต่อแล้วสามารถนำส่งชุดของยาโดยตรงไปยังเซลล์มะเร็งหรือเซลล์ที่ติดเชื้อ ในเริ่มแรกของการทำงานของ Demir Akin และผูร้ ว่ มงานได้ทำการติดยีน Luciferase ที่ทำให้หิ่งห้อยเรืองแสงที่เชื้อ Listeria monocytogene ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เกิดอาหารเป็นพิษ สามวันหลังจากที่ Akin ได้ฉีดเชื้อไปในหนูทดลอง หนูสามารถเรืองแสงได้ในกล้องชนิดพิเศษ ทำให้สามารถช่วยยืนยันว่าเชื้อแบคทีเรียได้เข้าไปสู่เซลล์ของหนูแล้ว นอกจากนี้ยังทำให้เซลล์นิวเคลียสนั้นมีการแสดงออกของยีนด้วย Akin ออกแบบให้หุ่นยนต์ขนาดจิ๋วที่มีชีวิตนี้ปลดปล่อยชุดของ DNA เข้าไปภายในเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และนำผลลัพธ์ไปต่อยอดในเซลล์มะเร็งของคน ในจานเพาะเชื้อ

ข้อดีของเชื้อ L.monocytogenes คือมันสามารถพัฒนาตัวเองให้เข้าไปอยู่ในเซลล์ของสัตว์ได้ แต่อาจเป็นอันตราย ซึ่งต่างจากเชื้อ E.coli ที่ไม่ก่อให้เกิดอันตราย แต่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการเข้าสู่เซลล์ต่างๆได้ Douglash Weibel แห่งมหาวิทยาลัย Wisconcin Madison กล่าวว่า กุญแจสำคัญคือการทำงานกับเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ก่อโรค ซึ่งเป็นนักว่ายที่แข็งแกร่งและสามารถแทรกตัวเข้าไปในเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม

Weibel ยังคงติดตามการศึกษาต่อไป แบคทีเรียได้พัฒนาการเคลื่อนที่ของมันอย่างน่าประหลาด พวกมันสามารถปรับตัวตามสภาพแวดล้อม ซึ่งไม่ใช่การปรับเพียงเล็กน้อย แต่ลึกไปถึงพันธุกรรม ถึงแม้ว่าเราจะไม่สามารถใช้มันส่งสิ่งต่างๆไปในร่างกายของมนุษย์ พวกมันอาจจะมีประโยชน์ในการขนส่งอนุภาคขนาดเล็กในการทดลอง ใครจะไปรู้ว่าในอนาคตอีก 50 ปีข้างหน้าเราอาจจะได้รับประโยชน์มากมายมหาศาลเพียงใด จากการนำส่งโดยเชื้อจุลินทรีย์เหล่านี้

ที่มา: Vaccine News โดยบริษัทซาโนฟี่ ปาสเตอร์ จำกัด